
ความหวังครั้งใหม่ของการรวมกลุ่มซื้อ-ขาย,ซื้อขายข้าวแห่งอาเซียน
ผู้เขียน: ฝ่ายวิจัยและพัฒนา AFET
แหล่งเผยแพร่: หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน 18 สิงหาคม 2553
สัปดาห์ที่ผ่านมา วงการข้าวต่างให้ความสนใจกับประเด็นข่าวการประชุมโรงสีข้าวแห่งอาเซียนและแนวคิดบริษัทค้าข้าวอาเซียน ที่มีโต้โผใหญ่ผลักดันโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นการจุดประกายความหวังครั้งใหม่ของการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียนขึ้นมาอีกครั้ง แม้ประเด็นข่าวการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียนนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็สร้างความสนใจได้ทุกครั้ง
การจัดประชุมโรงสีข้าวแห่งอาเซียน (ASEAN Rice Miller Cooperation) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา มีจุดประสงค์ให้เกิดความร่วมมือกันในลักษณะของการร่วมทุนระหว่างโรงสีข้าวของไทยซึ่งมีศักยภาพสูงกับโรงสีข้าวของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนที่อยู่ระหว่างการพัฒนา เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตและการส่งออกข้าวของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการจัดโซนนิ่งโรงสีข้าวไทยให้สามารถรับข้าวจากเพื่อนบ้านมาสีเพื่อการส่งออก โดยอาจให้ไทยส่งออกให้หรือส่งกลับไปให้ประเทศนั้นเพื่อการส่งออก วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าข้าวระหว่างอาเซียน ส่วนแนวคิดบริษัทค้าข้าวอาเซียนนั้น คุณพรทิวา นาคาศัย รมว.กระทรวงพาณิชย์ มีแผนจะหารือกับรมว.กระทรวงพาณิชย์ของเวียดนามในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (เออีเอ็ม) ที่ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 20-27 สิงหาคมนี้ หากทั้งสองโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ประเทศไทยและเวียดนามในฐานะผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกและเป็นสมาชิกอาเซียน ก็จะสามารถรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ตัดปัญหาการขายข้าวตัดราคากันเอง และสร้างอำนาจการต่อรองราคาข้าวในตลาดโลก
เมื่อพูดถึงความหวังของการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียน หลายท่านอาจนึกไปถึงความสำเร็จของการรวมกลุ่มของประเทศผู้ค้าน้ำมันอย่าง "โอเปก" (OPEC, The Organization of the Petroleum Exporting Country) ซึ่งมีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันกับแนวคิดการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียน โดยวัตถุประสงค์ของโอเปก คือ การแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปิโตรเลียมรายใหญ่ของโลกให้มีบทบาทในการกำหนดราคาน้ำมัน เพื่อสร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้แก่ประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตามหัวใจของความสำเร็จในการรวมกลุ่มของโอเปก อยู่ที่ "ความสามารถในการควบคุมปริมาณการผลิต"
ความสำเร็จของโอเปกในการสร้างอำนาจกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก เพราะ "น้ำมัน" เป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นธุรกิจผูกขาดโดยผู้ขายน้อยราย ยิ่งเมื่อผู้ขายน้อยรายมารวมกลุ่มกันเป็นโอเปก ก็ยิ่งทำให้สามารถควบคุมอุปทานหรือปริมาณการผลิตน้ำมันได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยโอเปกจะใช้วิธีการประกาศปรับเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อส่งสัญญาณราคาไปยังตลาดค้าน้ำมัน ขณะที่ "ข้าว" เป็นสินค้าที่มีลักษณะผู้ผลิตหลายราย การวางแผนการผลิตก็ติดปัญหาเรื่องระยะเวลาเพาะปลูกที่ใช้เวลายาวนาน และปัจจัยที่กระทบกับปริมาณผลผลิตก็ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศและภัยธรรมชาติ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้การควบคุมปริมาณผลผลิตข้าวทำได้ยากกว่าการควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมัน
ในอีกมุมหนึ่ง หากมองในแง่ของสินค้าที่ใช้ทดแทนกัน ซึ่งเป็นการพิจารณาในมุมของฝั่งอุปสงค์ จะพบว่าเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น อัตราการใช้น้ำมันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ในขณะที่เมื่อราคาข้าวสูงขึ้น คนก็มีแนวโน้มที่จะหันไปบริโภคสินค้าชนิดอื่นทดแทน เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด เป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาที่เรามักพบในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือ การที่สมาชิกไม่ปฏิบัติตามกติกา ขาดความร่วมมือกันอย่างจริงจัง ซึ่งโอเปกก็ประสบปัญหาเหล่านี้เช่นกัน และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้บทบาทและความสำคัญของกลุ่มโอเปกลดน้อยถอยลง ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตที่อาจเป็นประโยชน์ในการจัดตั้งการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียน แต่ไม่ว่าอุปสรรคของการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียนนี้จะมีมากน้อยแค่ไหน ดิฉันก็มีความหวังที่จะเห็นความสำเร็จของการรวมกลุ่มข้าวแห่งอาเซียน เพราะหากความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงก็จะเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อเกษตรกรและประเทศชาติของเรา ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
ซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดีซื้อ-ขาย,ซื้อขาย,ซื้อ,ขาย,ขายของ,ขายไีรดีในเน็ต,ขายดี
ที่มา http://www.afet.or.th